เทคนิคสอบพละศึกษาเพื่อเข้ารับราชการทหาร-ตำรวจ

เทคนิคสอบพละศึกษาเพื่อเข้ารับราชการทหาร-ตำรวจ







          ในการสอบเข้าเพื่อบรรจุเข้ารับราชการนั้น ถือเป็นเรื่องที่ใครหลายคนใฝ่ฝันถึง  แต่การที่สอบผ่านเพียงแค่รอบแรกนั้น ถือเป็นแค่การสอบผ่านแค่ขั้นเดียว ยังมีการสอบสัมภาษณ์ ตรวจร่างกาย และที่สำคัญขาดไม่ได้เลยคือการสอบพละศึกษาเพื่อเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับราชการเพื่อเป็นทหารตำรวจ ในที่นี่จะขออ้างอิงวิธีการสอบจากเตรียมทหารเป็นหลักครับ


          สำหรับคนบางคนที่ยังไม่ได้ฟิตซ้อมร่างกาย สามารถนำเทคนิคนี้ไปปรับใช้เพื่อสอบพละศึกษาได้ภายใน 1 เดือน แต่ขอบอกไว้ก่อนว่า การได้ภาคภูมิใจเมื่อสอบติดนั้น เราจะต้องพยายามแหละหมั่นฝึกฝนตนเองอยู่เรื่อยๆ



          เทคนิคนี้ถ้าหากใครไม่ได้ต้องการเข้ารับราชการก็สามารถนำไปฝึกได้เพื่อให้ตนเองมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ถ้าพร้อมแล้ว วันนี้จะแนะนำเทคนิคสอบพละศึกษาเพื่อเข้ารับราชการทหาร-ตำรวจ ดังสถานีต่อไปนี้







1.  ว่ายน้ำ






          วิธีแรกการฟิตซ้อมควรจะฟิตซ้อมจากระยะใกล้ๆก่อนเช่น ว่ายน้ำตามความกว่้างของสระน้ำก่อน จากนั้นค่อยเพิ่มเป็นระยะ25เมตร 50เมตรต่อไป จากนั้นก็ค่อยเพิ่มความชำนาญด้วยการว่ายน้ำให้บ่อยขึ้นและเร็วขึ้น 


          วิธีการนี้หากมีความตั้งใจพยายาม เชื่อว่าสามารถว่ายน้ำเพื่อสอบเข้าได้ภายในระยะเวลา 1 เดือนแน่นอน


           ถ้ามีการสอบว่ายน้ำน้องจะต้องมีการกินอาหารพวกน้ำปลามากกว่าปกตินิดนึง เพราะจะช่วยไม่ให้เป็นตะคริวได้ (ไม่ต้องกลัวเป็นโรคไต เพราะการกินน้ำปลาวันเดียวไตไม่วายหรอก) 







2.  วิ่ง 50 เมตร







          วิธีที่สอง วิธีนี้ต้องขึ้นอยู่กับการฝึกซ้อม สปีดต้นของน้อง มีท่า ๆ นึงที่อยากแนะนำคือ ท่าสับขาเป็นการวิ่งอยู่กับที่ แล้วน้อง ๆ วิ่ง ซอยขาสูงๆ จากช้า ๆ ก็เพิ่มความเร็ว 


          ถ้าเหนื่อยก็ซอยขาอยู่ แต่ ช้า ๆ ลง ทำอย่างนี้ให้ได้ 5 นาที อาจจะใช้วิธีการสับ30วิ แล้วก็พัก30วิ ก็ได้ สัก 1 อาทิตย์ น้อง ๆ จะเริ่มเห็นผลของการซ้อมแล้ว







3.  วิ่งกลับตัว


          การฝึกการเบรคก็ไม่ยาก ให้วิ่งมาด้วยความเร็ว แล้วหยุดด้วยกการสไลด์เท้า ทำบ่อยๆ จนชำนาญ จะลดความผิดพลาดของการวิ่งเลยของที่จะเก็บได้


          การฝึกบิดเอวก็ต่อเนื่องจากการหยุดแบบสไลด์คือ ฝึกเอี้ยวตัวให้ไวแล้วใช้ขาที่ถนัดถีบตัวส่งออกมาโดยเร็ว การเอี้ยวตัวที่เร็วคือการบิดเอวนั่นเอง


** ข้อแนะนำ พยายามโน้มตัวหรือก้มลงเลียดพื้นดิน เพราะถ้าน้องวิ่งไม่ก้ม หรือโน้มตัวลงนั้น จะทำให้น้อง
เสียหลักได้ง่าย **







4. ลุกนั่ง







          เป็นหัวข้อที่เก็บได้ง่ายที่สุดแล้ว เป็นด่านช่วย ส่วนมากคะแนนจะเต็มกัน ทุกคน ท่าsit up แล้วแต่
เหล่าส่วนมากให้เอามือประสานไว้ที่ท้ายทอย เวลา ดึงขึ้นมา ให้ศอกแตะเข่า เวลาลงให้ศอกตีพื้น








5.  นั่งงอตัว







          เป็นด่านที่ยากก็ยากเลย ง่ายก็ง่ายเลย แล้วแต่ความอ่อนตัวแต่ละคน ส่วนมากนักกีฬาพวกฟุตบอล หลังจะแข็งจะได้ไม่ค่อยมากเท่าไหร่ แต่มีการ ฝึกซ้อมง่าย ๆ คือเริ่มต้นด้วยการยืนเท้าชิดเข่าชิดตรงทางต่างระดับ ( สูงกว่ากันประมาณหนึ่งฝ่ามือ)และทำการก้มลงเอานิ้วและให้ได้ โดยถ้าไม่ถึงก็ทำการยืดตัวตรงแล้วก้มโดยใช้แรงมากกว่าเดิม


          ครั้งแรก ๆ จะไม่ค่อยโดนพื้น หลังจากนั้นจะได้มากขึ้น จนสามารถค้างติดพื้นได้เลย (การออกแรงในการก้มควรค่อยทำ


          ไม่ควรก้มกระแทกเลยเพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อหลังหรือกระดูกสันหลัง) ทำอย่างนี้ ทุกๆวัน วันละประมาณ10 ครั้ง หนึ่งเดือนก็จะได้เกือบ 15-20 ครั้งแล้ว






6.  วิ่ง1000เมตร




          การวิ่งในระยะนี้ควรทำการยืดเหยียดก่อนเป็นเวลาประมาณ15-30นาที  เพื่อคลายกล้ามเนื่อ โดยเน้นยืดบริเวณข้อต่อ ข้อพับให้มากที่สุด


          แรงที่ใช้ในการวิ่งมาจากน้ำตาล ดังนั้นควรกินน้ำตาลให้มากกว่าเดิม (ไม่ควรมากเกินไป) เพื่อให้ร่างกายมีแรงที่จะใช้ในการออกกำลังกาย และวิ่งระยะไกล


          วิ่งเสร็จพักให้หายเหนื่อยอย่าดื่มน้ำทันที รออุณหภูมิร่างกายลดลงเสียก่อน ค่อยดื่มน้ำ และเกลือแร่เพื่อทดแทนที่หายไปจากการวิ่ง (เนื่องจากการวิ่ง จะมีการนำเกลือแร่มาใช้สูงมาก และขับออกมาในรูปของเหงื่อ จึงต้องดื่มเกลือแร่ทดแทนที่หายไป)


          มีหลายคนตั้งใจว่าจะวิ่งแบบรักษาแรงในช่วงแรก แล้วค่อย สับตอนหลังๆ แต่มักจะทำไม่ค่อยได้เนื่องเพราะเพื่อนๆที่วิ่งกับน้องนั้น วิ่งเต็มสปีดตั้งแต่ต้น เลยทำให้เรารู้สึกโดนสภาวะแวดล้อมพาไป ต้องวิ่งเร็วด้วย


7.  กระโดดไกล







          การกระโดดไกลจะขึ้นอยู่กับการสปริงตัว ข้อขา จังหวะ และการโน้มเอียง ของน้องถ้าอย่างใดอย่างหนึ่งน้อง ขาดไป จะทำให้การกระโดดได้ผลน้อยลง น้องๆจึงต้องหมั่นฝึกซ้อมกระโดดเพื่อที่จะหาจังหวะของตนเองให้ได้


          สำหรับคำแนะนำสถานีนี้ควรจะฝึกหลังจากที่เราออกกำลังกายเสร็จแล้วเพราะร่างกายได้รับการยืดเหยียดมาก่อนแล้ว


8.  ดึงข้อ






          สถานีนี้เป็นสถานีที่ต้องฝึกฝนมากหน่อย เพราะจำนวนครั้งที่ห่างกันเพียงครั้งเดียวก็ห่างกันหลายคะแนน ซึ่งหลายคนวิตกกังวลในสถานีนี้เนื่องจากดึงข้อไม่ขึ้น


          สำหรับวิธีการของคนที่ดึงข้อไม่ขึ้นควรฝึกฝนโดยการยืนบนเก้าอี้ จากนั้นให้ทิ้งน้ำหนักตัวลงพอให้สามารถดึงขึ้นได้พอดี จากนั้นเพิ่มความหนักขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถดึงได้โดยไม่ใช้ตัวช่วย จึงเริ่มที่จะเพิ่มจำนวนครั้งให้ได้มากที่สุด ภายในหนึ่งเดือนวิธีนี้ก็สามารถช่วยให้ดึงข้อได้แน่นอน ขึ้นอยู่กับความตั้งใจในการฝึกฝน สำหรับผู้ที่ดึงข้อไม่ขึ้นก็จะช่วยให้ดึงได้สัก2-3ครั้ง





          เป็นยังไงกันบ้างละคับ สำหรับเทคนิคในการสอบพละศึกษาเพื่อเข้ารับราชการทหารตำรวจตามที่หลายคนใฝ่ฝัน แต่อย่าลืมว่าการที่คนเราจะประสบความสำเร็จได้นั้น ทุกคนจะต้องมีความตั้งใจพยายาม ใครที่ต้องการฟิตซ้อมตัวเองในเวลาสั้นๆก็สามารถนำวิธีนี้ไปใช้ได้เลย ขอให้โชคดีในการสอบคับ

ความคิดเห็น

เรื่องน่าสนใจ

BTemplates.com

loading...

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

7 บุคคลตัวอย่างแห่งความสำเร็จที่น่ายกย่อง

ความล้มเหลวที่ทำให้เราหมดกำลังใจ

มารู้จักการทำงานของสมองกันดีกว่า

adnow

loading...